อิฐแดงสีนวล ผลิตและจำหน่าย อิฐแดงทุกชนิดสำหรับ ทุกงานก่อสร้าง จากโรงงานผลิตโดยตรงไม่ต้องผ่านคนกลาง ราคาถูกแน่นอน การันตีคุณภาพ ด้วยประสบการณ์ที่มีกว่า30 ปี บริการด้วยใจซื้อตรง 100%
อิฐ เป็นวัสดุก่อสร้างพื้นฐานสำหรับการก่อสร้าง อาคาร ทั่วไป อิฐแบบธรรมดา ผลิจากส่วนผสมของดินเหนียวและแกบน้ำ ปัจจุบันอิฐมีหลายขนาดหลายรูปแบบ เพราะเปลี่ยนไปตามความต้องการของผู้ใช้งาน แต่มีขบวนการผลิตที่ทันสมัยกว่าสมัยก่อน จะมีทั้งแบบตัน แบบรู ตามความต้องการของผู้ใช้งาน
ประวัติอิฐมอญ
ชาวมอญได้อพยพมาลงหลักปักหลักปักฐานบนผืนแผ่นดินไทยแล้ว ก็ยังคงประกอบอาชีพตามเดิมที่ตนถนัด มาตั้งแต่ครั้งอาศัยอยู่ในบ้านเมืองของตน ซึ่งอาชีพหลักของชาวมอญก็คือ ทำนา ทำไร่ ค้าขาย เข้ารับราชการ และการทำเครื่องปั้นดินเผา รวมทั้งการทำอิฐ ซึ่งเป็นอาชีพที่ชาวมอญได้ทำมานานแล้ว และ มีความชำนาญมาตั้งแต่ในบ้านเมืองเดิมของตน จากการที่ชาวมอญมีฝีมือในการทำเครื่องปั้นดินเผา และผูกขาดการทำอิฐมาแต่ต้น ทำให้คนไทยเรียกลักษณะของอิฐรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีสีส้มสดชนิดนี้ว่า “อิฐมอญ” อิฐเป็นวัสดุสำคัญในการก่อสร้างมาแต่ครั้งอดีต สังเกตได้จากโบราณสถานที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ และยังคงความสำคัญนับจากอดีตจวบจนกระทั่งปัจจุบัน มีบทบาทเด่นในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนต่าง ๆ ชุมชนชาวมอญในประเทศไทยที่ประกอบอาชีพการทำอิฐมอญมีหลายแห่ง มีแหล่งอุตสาหกรรมการผลิตอิฐที่สำคัญ ได้แก่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ และอีกหลายอำเภอในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
แต่เดิมดินที่นำมาทำอิฐมอญเป็นดินจากแม่น้ำ มีเนื้อละเอียดปนทราย ซึ่งเป็นคุณลักษณะพิเศษคือ ไม่เหนียวมากเกินไป แต่ปัจจุบันดินแม่น้ำต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก จึงหันมาใช้ดินจากพื้นที่ลุ่ม มีคุณสมบัติเหมือนดินแม่น้ำ กล่าวคือเป็นดินสองชั้น ชั้นบนเป็นดิน เหนียวปนทรายมาก ส่วนชั้นล่างเป็นดินเหนียวล้วน ๆ เมื่อขุดมารวมกัน ก็จะได้ดินเหนียวปนทรายเนื้อดี นอกจากดินแล้ว ยังประกอบด้วยแกลบ และขี้เถ้า เป็นส่วนประกอบสำคัญ ก่อนจะผสมให้เข้ากัน ตากแห้ง และเข้าเตาเผา อิฐที่ดีจะมีสีส้มสดทั่วทั้งก้อน แกร่ง มีคุณภาพสามารถนำไปใช้งานได้ทันที อาชีพการทำอิฐมอญและเครื่องปั้นดินเผา ถือเป็นเอกลักษณ์ของชาวมอญมาแต่โบราณ และมีการสืบทอดมาสู่ลูกหลานกระทั่งปัจจุบัน
แม้คนมอญที่ประกอบอาชีพนี้จะล้มหายตายจากไป แต่ชื่อ"อิฐมอญ" ก็ยังคงอยู่ตลอดไป อาชีพชาวไทยรามัญนิยมทำอิฐเผา ปั้นหม้อ ตุ่ม กระถาง ฯลฯ และทำได้อย่างวิจิตรงดงาม มีคุณภาพ เจ้านายในวังผ่านไปมาเห็นคนมอญทำอิฐเผาสร้างวัด จึงได้สั่งเข้าไปก่อสร้างในวัง ต่อมาเห็นว่ามีความแข็งแรงทนทาน จึงนิยมนำไปใช้ในการก่อสร้างครั้งต่อ ๆ มา จนได้ชื่อเป็นที่กล่าวขนานกันเป็นสัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่คนไทยทั้งประเทศรู้จักว่า “ อิฐมอญ” เรียกชื่อตามคนที่ทำ หรือ เรียกชื่อตามสถานที่ แหล่งที่ผลิต เช่น เรียกโอ่งใส่น้ำขนาดใหญ่ว่า ตุ่มสามโคกเพราะทำที่สามโคก เรียกหม้อหุงข้าว หรือ ต้มยาดินเผาว่า หม้อบางตะนาวศรีเพราะ ทำที่บางตะนาวศรี ดั้งนั้น อิฐมอญ จึงเป็นสัญลักษณ์สินค้าแห่งคุณภาพจากการศึกษาสืบทอดทางวัฒนธรรมที่เป็นไปอย่างมั่งคงทำให้เครื่องปั้นดินเผาของไทยรามัญปรากฏเป็นหลักฐานการทำเครื่องปั้นดินเผาอยู่กระทั่งทุกวันนี้